วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ทุกอย่างของน้ำอัดลม

น้ำอัดลม

   หลายร้อยปีก่อน นักธรณีวิทยาชาวยุโรปคนหนึ่งได้ค้นพบน้ำแร่ที่ใสเย็น ดื่มแก้กระหายได้ดี เนื่องจากในน้ำแร่นั้นมีคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อดื่มเข้าไป ก็เกิดปฏิกิริยากับร่างกาย โดยการช่วยดูดความร้อนออกจากร่างกายของเรา ทำให้เรารู้สึกสดชื่นและเย็นสบาย
ต่อมา ต้นศตวรรษที่ 19 เภสัชกรคนหนึ่งได้ใช้ความกดดันสูงอัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปในน้ำ เพื่อผลิตน้ำอัดลมรุ่นแรก ผลปรากฏว่า น้ำอัดลมนั้น แม้จะดื่มแล้วรู้สึกสดชื่น แต่กลับไร้ซึ่งรสชาติ มีแต่ความจืดชืด จึงได้มีการพัฒนาโดยเติมส่วนผสมของน้ำตาล น้ำผลไม้ และเครื่องหอมต่าง ๆ ลงไป กลายเป็นน้ำอัดลมที่มีกลิ่น สี รสต่าง ๆ มากมาย เป็นที่ถูกอกถูกใจผู้คนเป็นอย่างมาก จนความนิยมนี้ได้รับการสืบต่อกันมาถึงปัจจุบัน
น้ำอัดลม เป็นเครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ มีสีสันแตกต่างกันไป มีคนนิยมดื่มมากและสามารถหาซื้อได้ทั่วไปในร้านที่ขายเครื่องดื่ม นิยมบรรจุในรูปแบบกระป๋อง ขวดแก้ว ขวดพลาสติก เป็นต้น
        คา เลบ แบรดแฮม ต้องการทำให้ร้านขายยากลายเป็นแหล่งนัดพบปะของผู้คน เขาทำอย่างที่เภสัชกรหลายๆคนทำ คือ มีตู้น้ำโซดาในร้านขายยา ซึ่งเขาบริการเครื่องดื่มแก่ลูกค้าด้วยน้ำโซดาที่เขาปรุงขึ้นเองโดยเป็นส่วน ผสมของน้ำคาร์บอเนต ผลโคล่า วานิลลา และน้ำมันหอมสกัด ลูกค้าของเขาพากันเรียกเครื่องดื่มนี้ว่า “Brad’s Drink” และคาเลบได้เปลี่ยนชื่อเป็น “Pepsi-Cola” และ ได้ทำการโฆษณาเครื่องดื่มชนิดใหม่ของเขานี้ต่อลูกค้าที่ชื่นชอบ เมื่อยอดขายของเป๊ปซี่-โคลาเริ่มเพิ่มขึ้นเขาจึงเริ่มตั้งบริษัทและทำการ ตลาดให้กับเครื่องดื่มใหม่ของเขา จนในปี 1902 เขาเริ่มดำเนินกิจการบริษัท Pepsi-Cola ในห้องด้านหลังร้านขายยา เขาจดสิทธิบัตรเครื่องหมายการค้าและได้รับมอบสิทธิบัตรเมื่อ 16 มิถุนายน 1903
ใน ตอนแรกเขาผสมเครื่องดื่มด้วยตัวเองและจำหน่ายผ่านตู้กดน้ำ แต่ในไม่ช้าคาเลบเริ่มรู้ตัวว่ามีโอกาสอันดีรออยู่ นั่นคือการบรรจุขวดเป๊ปซี่-โคล่า เพื่อที่ว่าทุกๆ คนในวงกว้างจะได้สามารถลิ้มรสเครื่องดื่มของเขาได้
      ในช่วงทศวรรษ 1930 Pepsi-Cola ได้เริ่มขยายธุรกิจไปยังนานาชาติ เครื่องหมายการค้า Pepsi-Cola ถูกจดทะเบียนในประเทศละตินอเมริกา และสหภาพโซเวียต รวมทั้งแพร่ขยายสาขาการบรรจุขวดไปยังแคนาดา ต่อมาสงครามโลกครั้งที่สองทำให้วิกฤติเดิมที่เคยเกิดขึ้นกลับ มาอีกครั้ง คือเกิดภาวะขาดแคลนน้ำตาล แต่แม็คผู้ซึ่งได้รับบทเรียนจากอดีตมาแล้ว จึงได้ซื้อฟาร์มอ้อยน้ำตาลในคิวบาเอาไว้ ทำให้เป๊ปซี่ก็ยังคงดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง และยุคนี้เป็นยุคที่คนหนุ่มสาวทั้งชายและหญิงต้องสวมเครื่องแบบเพื่อรับใช้ ชาติในดินแดนอันห่างไกล ซึ่งนับเป็นโอกาสอันดี และเพื่อดำรงความรู้สึกรักชาติเอาไว้ Pepsi-Cola จึงใช้สีแดง ขาว และ น้ำเงิน เป็นสีสันบนขวดจวบจนปัจจุบัน
คุณค่าทางโภชนาการของน้ำอัดลมอยู่ที่น้ำตาลซึ่งร่างกายสามารถนำไปใช้เป็นพลังงานได้ แต่จุดอ่อนของน้ำ อัดลมอยู่ที่ผู้ดื่มได้พลังงานเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีสารอาหารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีก เรียกว่าพลังงานที่ว่างเปล่า หรือ Empty calories ดังนั้นถ้าดื่มน้ำอัดลมมากและรับประทานอาหารอื่นน้อย ก็อาจขาดสมดุลทางโภชนาการ ที่สำคัญคือในเด็กยิ่งเด็กเล็ก ๆ ยิ่งน่าเป็นห่วง ถ้าปล่อยให้ดื่มแต่น้ำอัดลม ไม่ได้ดูแลให้รับประทานอาหารให้ครบตามหลักโภชนาการอาจขาดสารอาหารได้ บางครั้งก็ให้ดื่มในเวลาที่ใกล้จะถึงหรือในระหว่างรับประทานอาหารมื้อหลัก ทำให้อิ่มและกินอาหารได้น้อยลง ข้อเสียอีกประการหนึ่งเนื่องจากน้ำอัดลมมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบในปริมาณมาก และมีสภาวะเป็นกรดด้วย อาจเป็นเหตุให้ฟันผุ นอกจากนี้น้ำอัดลมยังอาจทำให้ท้องอืดเพราะเกิดก๊าซในกระเพราะอาหาร และสภาวะที่เป็นกรดของน้ำอัดลมก็ไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคกระเพราะอาหารด้วยนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมในอังกฤษได้ศึกษาวิจัยสารเคลือบฟันของเด็กวัยรุ่นอายุ 14 ปี พบว่ามีจำนวนถึง 92 เปอร์เซ็นต์ที่เกิดการสึกกร่อน และเป็นเหตุให้ฟันไม่แข็งแรง อาจทำให้ฟันผอมบางลง หรือขอบฟันแตกกะเทาะได้ เนื่องจากการดื่มน้ำอัดลมที่มีฟองต่างๆ ทำให้ฟันเด็กสึกกร่อนไปตามๆ กันโดยเพียงแค่ดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้วันละหน ก็อาจทำให้เด็กอายุ 12 ปี มีโอกาสฟันสึกกร่อนได้ถึง 59 เปอร์เซ็นต์ ยิ่งเด็กวัยรุ่นอายุ 14 ปี โอกาสเสี่ยงยิ่งสูงเป็น 220 เปอร์เซ็นต์ และหากเด็กอายุ 12 ปีดื่มมากวันละ 4 แก้ว จะเสี่ยงสูงมากเป็น 252 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเด็กอายุ 14 ปีก็ยิ่งเสี่ยงสูงเป็นถึง 513 เปอร์เซ็นต์รายงานผลการศึกษาของวารสารทันตแพทย์สมาคมอังกฤษแจ้งว่า ฟันสึกกร่อนต่างจากฟันผุเพราะฟันผุเกิดจากการกินน้ำตาลมาก ส่วนฟันสึกกร่อนเพราะถูกสารที่มีฤทธิ์เป็นกรดในเครื่องดื่มกัดกร่อนซึ่งแม้แต่เครื่องดื่มเพื่อลดความอ้วนก็ยังอันตราย

ประโยชน์ของน้ำอัดลม

1.ทำความสะอาดสุขภัณฑ์ เทน้ำอัดลมหนึ่งกระป๋องลงในโถส้วม ปล่อยทิ้งเอาไว้ราวหนึ่งชั่วโมง จากนั้นใช้แปรงขัดให้ทั่วแล้วราดน้ำ กรดฟอสโฟริกในน้ำอัดลมจะช่วยขจัดคราบที่ติดอยู่บนสุขภัณฑ์ออกได้อย่างหมดจด
2.ขจัดคราบสนิม หากกันชนรถยนต์ที่เป็นโครเมี่ยมของคุณเกิดจุดสนิมขึ้นมา อย่าปล่อยให้มันลุกลามออกไป ลองใช้อลูมินั่มฟอยล์ชุบน้ำอัดลมเพื่อขัดรอยสนิม มันจะหลุดออกอย่างง่ายดาย
3.คลายน็อตสนิมเขลอะ หากต้องการคลายเกลียวของน็อตที่สนิมจับเขลอะ ลองใช้ผ้าชุบน้ำอัดลมชุ่มๆ และโปะลงบนน็อตทิ้งไว้สักหลายนาที กรดในน้ำอัดลมจะช่วยกัดสนิมออกและทำให้สามารถคลายน็อตออกได้
4.เพิ่มรสชาติให้แฮม เทน้ำอัดลมหนึ่งกระป๋องลงในกระทะ จากนั้น ห่อแฮมด้วยอลูมินั่มฟอยล์แล้วใส่ลงไปต้มในน้ำอัดลม ทิ้งไว้ราว 30 นาที แล้วเอาอลูมินั่มฟอยล์ออก เพื่อให้แฮมได้คลุกเคล้ากับน้ำอัดลมที่เหลืออยู่ในกระทะ แฮมคุณจะได้รสชาติดีขึ้นอีกเยอะ
5.ถ้าจะทำความสะอาดขั้วแบตเตอร์รี่ที่มีคราบกรดเกลือเกาะขาวๆ ให้เท "น้ำอัดลม" ฟองจะกัดคราบขาวออกได้หมด
6. ถ้าจุกขวดติดแน่น งัดไม่ออก เอาผ้าชุบ "น้ำอัดลม" หุ้มไว้หลายๆนาที จะบิดจุกขวดออกได้ง่าย
7. การล้างคราบไขมันจากเสื้อผ้า ให้ใช้ "น้ำอัดลม" 1กระป๋อง ผสมกับผงซักฟอกในปริมาณที่จจะใส่ในเครื่องซักผ้า ปล่อยให้ซักด้วยเครื่องตามปกติ "น้ำอัดลม" จะช่วยกำจักคราบไขมันตะกรันได้สะอาดหมดจด
8. ท่านสามารถผสม "น้ำอัดลม" ลงในน้ำยาล้างกระจกรถยนต์ ฟอสฟอริคแอซิดใน "น้ำอัดลม" จะช่วยทำความสะอาดกระจกได้ดี

ประเภทของน้ำอัดลมตามลักษณะเฉพาะของสีและกลิ่น ที่มีจำหน่ายทั้งแบบบรรจุขวดและแบบกระป๋อง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

ประเภทที่ 1เป็นน้ำอัดลมรสโคล่า น้ำอัดลมประเภทนี้ปรุงแต่งด้วยหัวน้ำเชื้อโคล่าซึ่งมี
คาเฟอีนที่สกัดจากส่วนใบของต้นโคคาผสม ปริมาณคาเฟอีนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิด
ของน้ำอัดลมที่แตกต่างกันไป สำหรับสีน้ำตาลเข้มที่เป็นที่มาของสีน้ำดำหรือสีโคล่านั้น ส่วนใหญ่
แล้วจะมาจากสีผสมอาหารที่เป็นสีน้ำตาลไหม้
ประเภทที่ 2 เป็นน้ำอัดลมที่ไม่ใช่โคล่า ได้แก่ น้ำอัดลมที่ปรุงแต่งกลิ่นรสเลียนแบบน้ำผลไม้
เช่น ส้ม มะนาว หรือองุ่น น้ำหวานอัดลมพวกน้ำเขียว น้ำแดง น้ำอัดลมเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีคาเฟอีน เนื่องจากไม่ได้ปรุงแต่งด้วยหัวน้ำเชื้อชนิดโคล่า

ส่วนประกอบของน้ำอัดลม มีดังนี้

1. น้ำ น้ำนี้ได้มาจากการนำน้ำบาดาลมาผ่านการกรองและฆ่าเชื้อโรคด้วยคลอรีน จากนั้นก็จะมีการเติมส่วนประกอบตัวที่ 2 ลงไป
2. น้ำตาลทรายหรือซูโครส หรือในน้ำอัดลมบางชนิดจะมีการผสมน้ำตาลเทียมชนิดที่ใช้ใส่ในน้ำอัดลมคือ แอสปาร์แทม ลงไปแอสปาร์แทมเป็นกรดอะมิโนที่สามารถรับประทานได้แต่ต้องไม่มากเกินไปการ ผลิตน้ำอัดลมชนิดธรรมดาจะใช้น้ำตาลทรายเพียงอย่างเดียว นำมาผสมน้ำ แล้วต้มทำเป็นน้ำเชื่อมและกรอง ปัจจุบันมีการใช้สารให้ความหวานตัวอื่นเพิ่มมาอีก เช่น น้ำเชื่อมข้าวโพด และน้ำเชื่อมข้าวโพดแบบฟรุคโตสสูง เป็นต้น
3. สารปรุงแต่ง หรือหัวน้ำเชื้อ จะเป็นส่วนผสมของสารที่ให้สีและกลิ่น จากนั้นก็ทำให้ของผสมทั้งหมดเย็นลง
 4. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
5. เอทิลีนไกลคอล
6. คาเฟอีน
7. วัตถุกันเสียหรือสารกันบูด
8. อื่นๆ เช่น กรดซิตริกและกรดฟอสฟอริก
สมบัติทั่วไปของน้ำอัดลมคือค่า pH หรือค่าความเป็นกรด – เบสของน้ำอัดลมมีค่าประมาณ 3.4 ค่า pH ระดับนี้ แสดงว่าน้ำอัดลมมีสมบัติเป็นกรด ซึ่งสามารถทำให้กระดูกและฟันผุกร่อนได้

ผลของการบริโภคน้ำอัดลมต่อร่างกาย ดังนี้
น้ำอัดลม

    อาจารย์สง่า ดามาพงษ์ ผู้จัดการโครงการโภชนาการสมวัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกรมอนามัย อุปนายกสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ได้แสดงมุมมองเกี่ยวกับกระแสการบริโภคน้ำอัดลมที่เพิ่มมากขึ้นว่า น้ำอัดลมเป็นเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมน้ำตาลในปริมาณที่สูง รองลงมาคือ เครื่องดื่มประเภทชาเขียว นมปรุงแต่งรส นมเปรี้ยว ตามลำดับ เครื่องดื่มเหล่านี้มีปริมาณน้ำตาลมากกว่ากำหนด ซึ่งปกติแล้วควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน ตามมาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้

              อาจารย์สง่า บอกอีกว่า น้ำอัดลมนั้น 1 กระป๋อง ขนาด 200 ซีซี มีส่วนผสมของน้ำตาลอยู่ 8-9 ช้อนชา ส่วนน้ำอัดลมขวดเล็กมีน้ำตาลอยู่ประมาณ 10-15 ช้อนชา ซึ่งเกินมาตรฐาน เห็นได้ว่า ในแต่ละวันเราบริโภคน้ำอัดลมแค่ 1 กระป๋อง ก็เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้แล้ว และยังบริโภคน้ำตาลจากแหล่งอื่น ๆ อีก ทำให้คนไทยบริโภคน้ำตาลถึงวันละ 20 ช้อนชา ซึ่งสูงกว่าที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดถึง 3 เท่า และยังสูงมากเป็นลำดับต้น ๆ ของโลกอีกด้วย

              "น้ำอัดลมมีความหวานและมีสภาวะความเป็นกรด เนื่องจากมีน้ำตาลและกรดฟอสฟอริกเป็นส่วนประกอบสำคัญ นอกจากนี้ยังมีกาเฟอีนผสมอยู่ด้วย เมื่อบริโภคในปริมาณมาก กาเฟอีนจะไปป้องกันการดูดซึมแคลเซียม ทำให้ร่างกายนำแคลเซียมไปใช้ได้ไม่เต็มที่ เมื่อบริโภคน้ำอัดลมมากจนเกินไป ทำให้เนื้อกระดูกบางและฟันผุได้"

              "สำหรับน้ำอัดลม 0% หรือ น้ำอัดลมไดเอตเป็นน้ำอัดลมที่มีส่วนผสมของน้ำตาลเทียม ซึ่งน้ำตาลเทียมเป็นอาหารควบคุมและต้องได้รับการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ในการนำมาจำหน่ายในประเทศด้วย แม้น้ำตาลเทียมจะเป็นสารทดแทนความหวานที่ไม่ให้พลังงาน สามารถบริโภคได้ก็จริง แต่ว่าน้ำตาลเทียมไม่มีคุณค่าทางโภชนาการใด ๆ และให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลปกติหลายสิบเท่า แม้ว่าจะกินแล้วไม่อ้วน แต่น้ำตาลเทียมมีผลทำให้ต่อมรับรส เกิดความต้องการกินหวาน ทำให้เป็นคนติดหวาน และส่งผลให้อยากกินอาหารพวกแป้ง หรือของหวานอย่างอื่นมากขึ้น" ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการอธิบาย

น้ำอัดลม 1. ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ อาหารที่เราทานเข้าไปก็จะไม่ถูกย่อย และยังหมักหมมจนเกิดแก๊สและของเสียที่จะกลายเป็นพิษต่อร่างกายได้
2.ทำให้อิ่มและทานอาหารได้น้อยลง ซึ่งจะส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติได้
3. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่อัดในน้ำอัดลมที่เกิดเป็นกรดคาร์บอนิก เป็นกรดที่ทำให้เกิดการ
อักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร อาจเกิดอาการปวดท้อง ทำให้ท้องอืด และปวดท้องเนื่องจากเกิด
แก๊สในกระเพาะอาหาร และจากสภาวะที่เป็นกรดของน้ำอัดลมทำให้ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรค
กระเพาะอาหารด้วย ดังนั้นผู้ที่ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม
4. น้ำอัดลมมีรสหวานของน้ำตาล ถ้าดื่มมากจะเกิดการสะสม ทำให้เกิดโรคอ้วนได้ จะทำให้ขาดสมดุล
ทางโภชนาการ
5. คาเฟอีนในน้ำอัดลม เป็นสารกระตุ้นประสาทที่ มีฤทธิ์ในการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำ
ให้ร่างกายเกิดความตื่นตัวและลดความง่วงลง แต่ต้องได้รับในปริมาณน้อยเท่านั้น และคาเฟอีนมี
ผลต่อการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น ทำให้มีโอกาสสูญเสียแคลเซียมจากร่างกาย และ
ผลจากฟอสเฟตสูงในน้ำอัดลม ทำให้ระดับแคลเซียมในร่างกายต่ำลงได้อีกด้วย

น้ำอัดลมที่มีขายในประเทศไทย

1.เป๊ปซี่ ผลิตโดย บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า(ไทย)เทรดดิ้ง จำกัด
2. โค้ก ผลิตโดย บริษัท โคคา-โคลา (ประเทศไทย) จำกัด , บริษัท หาดทิพย์ จำกัด ,บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด
3. รอยัลคราวน์ โคล่า หรือ อาร์ซี โคล่า (RC Cola) ผลิตโดย บริษัท สากลเบเวอเร็ดจ์ จำกัด
4. กระทิงแดง โคล่า ผลิตโดย บริษัท เครื่องดื่มกระทิงแดง จำกัด
5. บิ๊กโคล่า ผลิตโดย บริษัท อาเจไทย จำกัด
6. เอส โคล่า ผลิตโดย บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน)
7. แฟนต้า ผลิตโดย บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด
8. มิรินด้า ผลิตโดย บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) , บริษัท เป๊ปซี่-โคลา (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด
9. สไปรต์ ผลิตโดย บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด ,บริษัท โคคา-โคลา (ประเทศไทย) จำกัด
10. เซเว่นอัพ ผลิตโดย บริษัท เป๊ปซี่-โคลา (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ,บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน)
11. เมาเทนดิว

เปปซี่

     ธุรกิจเป๊ปซี่-โคลาเริ่มต้นด้วยโฆษณาภายใต้แนวคิดว่า “สดชื่น มีชีวิตชีวา ช่วยย่อยอาหาร” คาเลบประสบความสำเร็จใน ธุรกิจเป็นอย่างมาก ด้วยผู้บรรจุขวดเป๊ปซี่-โคลา นักลงทุน และการตั้งกองทุนที่มั่นคงเพื่อการขยายองค์กร นับเป็นการวางรากฐานของกิจการ Pepsi-Cola ธุรกิจได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง เขาได้ก่อตั้งสำนักงานใหญ่ Pepsi-Cola ที่สวยงามน่าทึ่งจนเมืองนิวเบิร์นต้องบันทึกเอาไว้ในภาพโปสการ์ด Pepsi-Cola เป็นหนึ่งในบริษัทแรกๆ ของอเมริกาที่เปลี่ยนการขนส่งจากการใช้รถม้าเป็นการใช้รถยนต์ และเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 เริ่ม ปะทุขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาเปลี่ยนไป ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจพุ่งขึ้นสูงอย่างรุนแรง ราคาน้ำตาลผันผวนขึ้นลงสุดขั้ว และส่งผลต่อต้นทุนการผลิตเป๊ปซี่-โคลา จะกระทั่ง เป๊ปซี่-โคลาต้องประสบภาวะล้มละลายในปี 1923 คาเล บกลับไปยังร้านขายยาของตัวเองแล้วขายเครื่องหมายการค้าเป๊ปซี่-โคลาให้แก่ บริษัท คราเวน โฮลดิ้ง คอร์เปอเรชั่น นับเป็นครั้งแรกที่เป๊ปซี่-โคลามีเจ้าของหลายราย

      ต่อมา รอย ซี. เม็กการ์เกล นายหน้าค้าหุ้นได้ซื้อเครื่องหมายการค้า Pepsi-Cola และได้พยายามดิ้นรนรักษาธุรกิจเอาไว้ให้ได้ และในปี 1931 Pepsi-Cola ก็ต้องประสบปัญหาล้มละลายอีกเป็นครั้งที่สอง จนกระทั่ง ชาร์ลส์ จี กัธ ผู้ผลิตลูกกวาดที่ได้รับความนิยมแห่งหนึ่งได้เข้ามากอบกู้ Pepsi-Cola ภายใต้การนำของกัธ Pepsi-Cola กลายมาเป็นสินค้าที่ประสบความสำเร็จอีกครั้ง ภายใน 2 ปีหลังจากที่ขายกิจการ Pepsi-Cola ทำรายได้ 1 ล้านดอลลาร์ เป็นการเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมาใหม่อีกครั้ง

Coca-Cola (Coke)


โคคา-โคล่า เป็นเครื่องดื่มอัดลมที่วางขายตามร้านค้า ภัตตาคารและตู้ขายสินค้าแบบหยอดเหรียญในกว่า 200 ประเทศ ผลิตโดย บริษัทโคคา-โคล่าแห่งแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ซึ่งมักเรียกสั้น ๆ ว่า โค้ก (เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัทโคคา-โคล่าในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1944) เดิมตั้งใจขายเป็นยาตำรับสงวนสิทธิ์ (patent medicine) เมื่อจอห์น เพมเบอร์ตันคิดค้นขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก่อนนักธุรกิจเอซา กริกส์แคนด์เลอร์ (Asa Griggs Candler) ผลิตโคคา-โคล่า ซึ่งกลยุทธ์การตลาดของเขานำโค้กครองตลาดเครื่องดื่มอัดลมทั่วโลกตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 20
โค้กมีเรื่องเล่าและข่าวลือมากมายกล่าวถึงผลเสียเนื่องจากโค้ก ซึ่งข่าวลือยังมีปรากฏแม้แต่ในเว็บไซต์สภากาชาดไทย[1] เรื่องราวต่างๆ ส่วนมากจะเน้นในแนวขำขันและการนำโค้กไปใช้ในรูปแบบต่างๆ เช่น ปริมาณกรดในโค้กมีมากเพียงพอที่จะทำลายอวัยวะภายในร่างกาย ในความเป็นจริงค่าความเป็นกรดด่าง หรือ pH ของโค้กมีค่า 2.5 ซึ่งใกล้เคียงกับมะนาว หรือ เลมอน มีค่า pH 2.4 หรือ ส้ม มีค่า pH 3.5 หรือแม้แต่ข่าวลือว่าตำรวจสหรัฐอเมริกาใช้โค้กในการล้างเลือดบนถนนกรณีเกิดเหตุรถชน หรือแม้แต่โค้กสามารถละลายฟันในช่องปากในตอนกลางคืน หรือโค้กใช้ในการป้องกันการตั้งครรภ์โดยใช้โค้กที่มีฤทธิ์เป็นกรดเทฆ่าอสุจิ ซึ่งข่าวลือต่างๆ เป็นเพียงเรื่องที่สร้างขึ้นเพื่อความสนุกสนาน (ถึงแม้ว่ารายการมิธบัสเตอร์ส ได้มีการทดสอบในการใช้โค้กช่วยในการล้างเลือดที่เปื้อนเสื้อผ้า) ข่าวลือยังมีกล่าวว่าโค้กใช้ในการขจัดคราบเกลือ บริเวณขั้วแบตเตอรีรถยนต์ให้สะอาดได้ ซึ่งโดยปกติแล้วคราบเกลือสามารถกำจัดได้โดยใช้น้ำอุ่นธรรมดาเช่นเดียวกัน
โค้กยังคงมีใช้ในการกำจัดสนิม โดย กรดฟอสโฟริกในโค้กเปลี่ยนออกไซด์ของเหล็กให้เป็นฟอสเฟตซึ่งใช้ในการกำจัดสนิมเหล็กได้
     โคคา-โคลา หรือ โค้ก ออกจำหน่ายครั้งแรกในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2492 ใน ปริมาณบรรจุขวดละ 6.5 ออนซ์ จำหน่ายราคา 1.50 บาท โดย นายรักษ์ ปันยารชุน นักธุรกิจชาวไทยร่วมกับหุ้นส่วนชาวต่างชาติ ดำเนินการขออนุมัติลิขสิทธิ์ขวด เป็นผู้จัดจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 และต่อมาได้ขายลิขสิทธิ์ดังกล่าวให้แก่บริษัทผลิตเครื่องดื่ม ไทยเพียว จำกัด[2] ปัจจุบัน กลุ่มบริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์การจัดจำหน่าย โคคา-โคลา ในประเทศไทย

Pepsi-Cola

เป๊ปซี่ โคล่า คือ เครื่องดื่มอัดลมที่ผลิตโดยบริษัทเป๊ปซี่ ซึ่งเป็นบริษัทคู่แข่งรายสำคัญของโคคา โคล่า เป๊ปซี่ โคล่ากำเนิดขึ้นครั้งแรกโดยการคิดค้นของเภสัชกรคาแร็ป แรดแฮมที่นิวเบิร์น นอร์ทแคโรไลนา ในช่วงทศวรรษ1800-1900 แรกเริ่มเครื่องดื่มชนิดนี้ตั้งชื่อว่า "เครื่องดื่มของแบรด (Brad's drink)" โดยมีเจตนาจะผลิตเครื่องดื่มชนิดนี้ขึ้นเพื่อช่วยรักษาอาการปวดท้อง ต่อมาแรดแฮมจึงตั้งชื่อเครื่องดื่มนี้ว่าเป๊ปซี่จากอาการปวดท้องที่เรียกว่า ไดเป๊ปเซีย ชื่อเป๊ปซี่นั้นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 1903 ส่วนผสมของเป๊ปซี่ถือเป็นความลับทางการค้าเช่นเดียวกับสูตรผสมของ โค้ก เคเอฟซี และแม็คโดนัลด์
     ในปี พ.ศ. 2554 (2011) เป๊ปซี่ได้รับรางวัล The Brand Trust Report, India Study, 2011[1] ที่ประเทศอินเดีย ที่จัดขึ้นในวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 2011
แต่เดิม เป๊ปซี่โค อินค์.สหรัฐอเมริกา ทำสัญญามอบสิทธิในการผลิตและจัดจำหน่ายเป๊ปซี่ในประเทศไทย ให้แก่บริษัทเสริมสุข จำกัด โดยเสริมสุขก่อตั้งโรงงานขนาดย่อมแห่งแรก ขึ้นบนเนื้อที่ราว 4 ไร่ บริเวณริมถนนสีลม และเริ่มการจัดจำหน่ายสินค้าประเภทขวดแก้วขนาด 10 ออนซ์ ภายใต้กำลังการผลิตวันละ 20,000 ขวดเป็นครั้งแรก ในเวลาเช้าของวันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2496 ภายใต้คำขวัญโฆษณาที่ว่า ดีมาก มากดี (อังกฤษ: Quality Quantity) [7] โดยจำหน่ายในราคา 1 บาท
เป๊ปซี่จัดจ้างผลิต ภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2525 จนถึงปัจจุบัน โดยมีนักแสดง นักร้องชื่อดังจำนวนมาก ซึ่งเคยเป็นผู้นำเสนอสินค้า (Presenters) ให้กับเป๊ปซี่ อาทิ สินจัยหงษ์ไทย, ฉัตรชัย เปล่งพานิช, อัญชลี จงคดีกิจ, วงเฉลียง, พีท ทองเจือ, ปกรณ์ ลัม, บอดี้สแลม เป็นต้น
ทว่าหลังจากดำเนินธุรกิจร่วมกันมาเป็นเวลาถึง 59 ปี ในที่สุดเมื่อวันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555 บริษัทแม่เป๊ปซี่โค อินค์. ก็ยุติการต่อสัญญาผลิตและจัดจำหน่ายเป๊ปซี่กับ บจก.เสริมสุข เป็นผลให้สัญญาดังกล่าวสิ้นสุดลงในวันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555 โดยเป๊ปซี่โค อินค์.จัดตั้งบริษัทเป๊ปซี่-โคลา (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ขึ้นเพื่อดำเนินธุรกิจการผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มเป๊ปซี่ รวมถึงมิรินด้าและเซเว่นอัพ ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
แต่เดิม บมจ.เสริมสุข เป็นผู้ได้รับสิทธิในการผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มโคลา ภายใต้เครื่องหมายการค้าเป๊ปซีในประเทศไทย จากเป๊ปซีโค อินค์.สหรัฐอเมริกา โดยก่อตั้งโรงงานขนาดย่อมแห่งแรก ขึ้นบนเนื้อที่ราว 4 ไร่ บริเวณริมถนนสีลม และเริ่มการจัดจำหน่ายเป็นครั้งแรก ในเวลาเช้าของวันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2496 ทว่าหลังจากดำเนินธุรกิจร่วมกันมาเป็นเวลาถึง 59 ปี ในที่สุดเมื่อวันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555 บริษัทแม่เป๊ปซีโค อินค์. ก็ยุติการต่อสัญญาผลิตและจัดจำหน่ายเป๊ปซีกับ บมจ.เสริมสุข เป็นผลให้สัญญาดังกล่าวสิ้นสุดลงในวันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555 โดยเป๊ปซีโค อินค์.จัดตั้งบริษัท เป๊ปซี-โคล่า (ไทย) เทรดดิง จำกัด ขึ้นเพื่อดำเนินธุรกิจการผลิตและจัดจำหน่าย เครื่องดื่มเป๊ปซี่ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

EST

บมจ.เสริมสุข จึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อเครื่องหมายการค้าใหม่ว่า เอส (est) โดยใช้สูตรการผลิตที่คิดค้นขึ้นใหม่ พร้อมกับปรับปรุงอัตลักษณ์ใหม่ทั้งหมด โดยมีพิธีเปิดตัวสินค้า และเริ่มต้นการจัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการ เมื่อวันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 โดยจัดประเภทสินค้าเป็น 4 รูปแบบหลักคือ ขวดแก้ว (ขนาด 250 มิลลิลิตร และ 12 ออนซ์), ขวดพลาสติก (ขนาด 455, 480 มิลลิลิตร และ 1 ลิตร), กระป๋อง (ขนาด 325 มิลลิลิตร) และ ตู้กดเครื่องดื่ม (Post Mix) พร้อมกันนั้น ยังเปิดเผยผู้นำเสนอสินค้า (Presenters) ชุดใหม่จำนวน 3 คนประกอบด้วย สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว (บี้), ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ (โตโน่) และ พิรัชต์ นิธิไพศาลกุล (ไมค์)

Seven up

เซเว่นอัพ (อังกฤษ: 7 Up) เป็นเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม ออกวางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2472 ในชื่อ "ลิธิเอตเตดเลมอน" จัดจำหน่ายโดยบริษัทแคดเบอรีส์ ในรัฐเทกซัสของสหรัฐอเมริกา และเป๊ปซีโคในที่อื่นทั่วโลก โดยในประเทศไทยจัดจำหน่ายโดย บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน)
เซเว่นอัพ คิดค้นโดยนาย ซี. แอล. กริก (C.L. Grigg)เป็นเครื่องดื่มรสมะนาวและตั้งชื่อว่าเซเว่นอัพเนื่องจากคิดขึ้นมา 7 รสโดยมีเครื่องดื่มชนิดอื่นที่มีลักษณะคล้ายเซเว่นอัพ ได้แก่ สไปรท์ และ ซีเอร์รามิสต์

Big Cola

บิ๊กโคล่า (อังกฤษ: Big Cola) เป็นเครื่องดื่มอัดลมชนิดน้ำโคล่าที่ผลิตโดยบริษัทอาเจ กรุ๊ป บริษัทสัญชาติเปรูที่เป็นผู้นำตลาดน้ำอัดลมในละตินอเมริกา กำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1988 ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในอเมริกาใต้ โดยในหลายประเทศ ใช้ชื่อทางการค้าว่า โคล่า เรอัล (สเปน: Kola Real)
บิ๊กโคล่ามีโรงงานผลิต 22 โรงงานใน 12 ประเทศ สำหรับในประเทศไทยมีวางจำหน่ายตั้งแต่ พ.ศ. 2549  โดยสร้างโรงงานผลิตที่จังหวัดชลบุรี

Sprite

สไปรท์เป็นที่นิยมในตลาดในคริสต์ทศวรรษ 1960 ถึง 1970 เมื่อพวกเขาทำโฆษณา ที่ต่อมามีอ้างถึงในหลายเพลง สไปรท์ยังคงนิยมในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 ถึงต้น 1980 เมื่อมีคำขวัญในโฆษณา และในปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 ก็ได้รับความนิยมผ่านกลุ่มวัยรุ่น
ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 เริ่มมีปรากฏในโฆษณาทางโทรทัศน์และวิทยุ ในปี 2000 มีการออกแบบกระป๋องใหม่ มีผลิต 300 ล้านกระป๋องในยุโรป และตั้งแต่ปี 2005 บริษัทเปลี่ยนโลโก้ผลิตภัณฑ์และเปลี่ยนอีกครั้งในปี 2009

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น